สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กการบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่
- ลักษณะที่ตั้ง
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 64 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 16 เดือนธันวาคม พ.ศ.2539 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีพื้นที่ 5.36 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,603 ไร่ มีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอมหาราช ประมาณ 5 กิโลเมตร
- อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลท่าต่อ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหันสังข์ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหัวไผ่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- เขตการปกครอง
- ตำบลบ้านใหม่ มีพื้นที่ 5.732 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,603 ไร่ โดยแบ่งเป็นหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน
- หมู่ที่ 1 บ้านใหม่ จำนวนครัวเรือน 95 ครัวเรือน
- หมู่ที่ 2 บ้านใหม่ จำนวนครัวเรือน 128 ครัวเรือน
- หมู่ที่ 3 บ้านใหม่ จำนวนครัวเรือน 185 ครัวเรือน
- หมู่ที่ 4 บ้านใหม่ จำนวนครัวเรือน 195 ครัวเรือน
- รวม 603 ครัวเรือน
- ตำบลบ้านใหม่ มีพื้นที่ 5.732 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,603 ไร่ โดยแบ่งเป็นหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน
- ข้อมูลด้านประชากร
- จำนวนประชากรของตำบลบ้านใหม่ ทั้ง 4 หมู่ มีจำนวน ทั้งสิ้น 2,078 คน แยกเป็น ชาย 991 คน หญิง 1,087 คน โดยมีรายละเอียด แต่ละหมู่ ดังนี้
- หมู่ที่ 1 ชาย 140 คน หญิง 177 คน รวม 317 คน
- หมู่ที่ 2 ชาย 219 คน หญิง 246 คน รวม 465 คน
- หมู่ที่ 3 ชาย 283 คน หญิง 276 คน รวม 559 คน
- หมู่ที่ 4 ชาย 349 คน หญิง 388 คน รวม 737 คน
- ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลบ้านใหม่ โดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นราบลุ่มน้ำท่วมถึง มีคลองสำคัญจำนวน 3 สาย สภาพดินเป็นดินเหนียว และดินตะกอนแม่น้ำ เหมาะสมกับการเกษตรกรรม มีถนนสายหลัก คือ สายเอเชีย วิ่งผ่านกลางพื้นที่ตลอดตำบลบ้านใหม่ - ภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของตำบลบ้านใหม่ มีอากาศร้อนชื้น ในฤดูฝนอาจมีน้ำท่วมขังในพื้นที่เป็นบางปี - ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- การคมนาคม
- ถนน สายเอเชียหมายเลข 32 จากทิศเหนือสู่ทางทิศใต้ โดยสามารถเดินทางได้สะดวกและวิ่งเข้าสู่กรุงเทพมหานครได้ง่ายเหมาะแก่การขนส่ง
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้านเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน ตั้งแต่หมู่ที่ 2 ถึงหมู่ที่4 ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กใช้ภายในหมู่บ้านหมู่ที่ 1 ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
- ถนนทางหลวงชนบทเชื่อมต่อจากถนนสายเอเชีย เข้าสู่อำเภอมหาราชระยะทางประมาร 5 กิโลเมตร และเส้นเข้าสู่อำเภอบ้านแพรก จังหวัดลพบุรี ระยะทาง 16 กิโลเมตร
- การประปา
ระบบประปาที่ ใช้ในพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ เป็นระบบประปาบาดาล ดำเนินกิจการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ของตำบลบ้านใหม่ได้ใช้ครบทุกครัวเรือน - ระบบไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้า ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านใหม่มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน และมีไฟส่องสว่างบริเวณเส้นทางสาธารณะ - การใช้ประโยชน์จากที่ดินในพื้นที่ตำบลบ้านใหม่
- การใช้ที่ดินของประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ สามารถจำแนกได้ ดังนี้
- พื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย
- พื้นที่สำหรับการเกษตรกรรม
- พื้นที่ตั้งหน่วยงานภาครัฐ
- การคมนาคม
- แหล่งท่องเที่ยว
- หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ พุทธอุทยานมหาราช เป็นที่ประดิษฐานของหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นสถานที่สำหรับให้ประชาชนชาวตำบลบ้านใหม่ นำผลิตภัณฑ์ ชุมชนมาจำหน่าย
- ศาลพ่อแก่ทองดำ เป็นสถานที่ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพของชาวบ้านตำบลบ้านใหม่ และมีการนมัสการประจำปี ในวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี
- สภาพทางเศรษฐกิจ
- การประกอบอาชีพ ประชากรในตำบลบ้านใหม่ ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พืช เกษตรที่มีความสำคัญ ที่สุด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด พืชสวนครัว และเลี้ยงสัตว์
- ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
- การรวมกลุ่มของประชาชน
- การจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
- กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มแปรรูปจากการเลี้ยงปลา เช่น ทำปลาเค็ม, ปลาตากแห้ง หมู่ 4
- กลุ่มเพาะปลูกกล้วยสายพันธ์ต่าง ๆ หมู่ 3
- แหล่งท่องเที่ยว
- มูลนิธิพุทธอุทยานมหาราชหลวงปู่ทวด 1 แห่ง
- กลุ่มอาชีพ
- การจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
- จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
- เป็นที่ราบลุ่ม น้ำไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม เป็นพื้นที่เหมาะแก่การพัฒนามีพื้นที่ติดกับเขตอำเภอบางปะหัน และเป็นพื้นที่เหมาะสมในการขยายเป็นเขตพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมในอนาคตได้ เพราะถนนสายเอเชีย หมายเลข 32 ตัดผ่าน
- การรวมกลุ่มของประชาชน
- จำนวนประชากรของตำบลบ้านใหม่ ทั้ง 4 หมู่ มีจำนวน ทั้งสิ้น 2,078 คน แยกเป็น ชาย 991 คน หญิง 1,087 คน โดยมีรายละเอียด แต่ละหมู่ ดังนี้
(ภาพจากเฟซบุ๊ก : พุทธอุทยานมหาราช วัดวชิรธรรมาราม หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่)
แผนที่ตั้ง google map
คำขวัญประจำองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่
“บ้านเกิดสรพงษ์ชาตรี ละมุด 100 ปีบ้านใหม่ พระใหญ่หลวงปู่ทวด”
------------------------------------------------
Part 1: บ้านเกิดสรพงษ์ชาตรี
ตำบลบ้านใหม่เป็นตำบลเล็กๆมีสี่หมู่บ้าน ตั้งอยู่ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางด้านตอนเหนือถนนสายเอเชีย ช่วงกิโลเมตรที่ 43 ถึง 48 มีเนื้อที่ 3603 ไร่หรือ 5.7 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 2000 กว่าคน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตร คือ ทำนาและทำสวน บุคคลที่มีชื่อเสียงของตำบลบ้านใหม่ ที่คนรู้จักกันทั่วประเทศ คือ นายกรีพงษ์ เทียมเศวต หรือ สรพงษ์ ชาตรี ศิลปินแห่งชาติดารานักแสดงชื่อดัง ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิสมเด็จโต ที่อำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา
Part 2: ละมุด 100 ปีบ้านใหม่
ตำบลบ้านใหม่ตั้งอยู่ริมสองฝั่งคลองบางแก้วซึ่งเป็นคลองสายสำคัญแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาบรรจบกับแม่น้ำลพบุรีที่อำเภอมหาราช ถือเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการพัดพาดินตะกอนแม่น้ำเจ้าพระยามาสะสมอยู่ในพื้นที่คลองบางแก้วจนกระทั่งเกิดเป็นแผ่นดินงอกยื่นออกไปตลอดริมสองฝั่งคลองเป็นพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ทุกชนิดตำบลบ้านใหม่มีการปลูกละมุดมาตั้งแต่ครั้งโบราณสืบเนื่องกันมากว่า100 ปี โดยละมุดที่ปลูกมีสองสายพันธุ์ คือ พันธุ์มะกอก กับละมุดพันธุ์ไข่ห่าน ละมุดที่ปลูกขึ้นที่ตำบลบ้านใหม่ จะมีความพิเศษแตกต่างจากละมุดที่อื่นๆ คือ ต้นละมุดมีอายุยาวนาน รสชาติหวานกรอบ รับประทานได้ทั้งเปลือก กรรมวิธีการปลูกปลอดสารพิษโดยสิ้นเชิง เนื่องจากปลูกบนดินตะกอนแม่น้ำที่มีแร่ธาตุเฉพาะซึ่งอุดมสมบูรณ์มาก โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยทุกชนิดปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ละมุดบ้านใหม่ต้นที่อายุเก่าแก่ที่สุดมีอายุเกือบสองร้อยปี และละมุดส่วนใหญ่จะมีอายุอย่างน้อยที่สุด 50 ปี ซึ่งใน ปัจจุบันคงเหลือละมุดที่รอดจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ทั้งตำบล 673 ต้น มีผลผลิตรวมกันประมาณไม่เกิน 3,000 กิโลกรัม โดยละมุดจะมีผลผลิตช่วงประมาณ เดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม ผลผลิตที่ดีที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ การบำรุงรักษาต้นละมุด ชาวบ้านจะใช้วิธีการตัดต้นละมุด ให้เหลือแต่ตอแล้วให้แตกยอดขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะทำให้ต้นละมุดมีความแข็งแรงแตกกิ่งก้าน มีอายุหนุ่มสาวเหมาะแก่การออกลูกทำให้ได้ผลละมุดที่มีรสชาดดีกว่าละมุดทั่วไป ละมุดบ้านใหม่จึงได้ชื่อว่าเป็นละมุดอันดับ 1 ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Part 3: พระใหญ่หลวงปู่ทวด
บนเส้นทางถนนสายเอเชีย ที่ทอดผ่าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าสู่จังหวัดอ่างทองณ จุดกิโลเมตรที่ 44 ที่สัญจรผ่านไปมา จะพบกับงานประติมากรรมรูปเหมือนพระสงฆ์ขนาดใหญ่ สีทองงดงามอร่ามตา ตั้งตระหง่านหันหน้าขึ้นสู่ทิศเหนือ คือรูปเหมือนพระอริยสงฆ์ ผู้มีนามอุโฆษ แห่งสยามประเทศ สมเด็จหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ สถานที่แห่งนี้ คือ ที่ตั้งของพุทธอุทยานมหาราชตำบลบ้านใหม่อำเภอมหาราชจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นพุทธศาสนสถานแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นตามหลักการบวร ในโครงการประกอบด้วย วัดที่สร้างขึ้นใหม่ชื่อว่าวัดวชิรธรรมาราม มีเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศ สมเด็จพระธีรญาณมุณี วัดเทพศิรินทราวาส พร้อมด้วยคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯพระบรมราชินีนาถ และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตมี นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ ประธานโครงการพุทธอุทยานมหาราช เป็นผู้ยกที่ดินถวายเพื่อสร้างวัด
นอกจากนั้น ยังเป็นที่ตั้งของตลาดหลวงปู่ทวด ซึ่งเป็นแหล่งค้าขายสินค้าชุมชน สินค้าโอทอป จากพี่น้องประชาชนรอบๆ โครงการซึ่งช่วยให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามหลักการ “บวร” อันหมายถึง ชาวบ้าน วัด และราชการ ประสานร่วมมือร่วมใจกันเพื่อความผาสุกของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนสืบไป